ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับต้น “ พญาคชราช” (Payakocharach )
โดย นายพงศรันทร์ ซุ้นสุวรรนศรี ประธานโครงการประเทศสีเขียว
ในขณะที่ภาคเอกชนให้ความสนใจ หันมารณรงค์ให้มีการปลูกป่าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุน รวมถึงการให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับพันธุ์ไม้อย่างถูกต้อง
ภาคเอกชนมีความประสงค์จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการสนับสนุนให้มีการปลูกป่า โดยการเสาะหาพันธุ์ไม้ที่ดี โตเร็ว (ที่มีอยู่ในประเทศไทย) และเกิดประโยชน์ต่อผู้ปลูกต้น “พญาคชราช” และผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ ตั้งแต่ผู้
เพาะกล้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้นำไปปลูก รวมทั้งกระบวนการอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งสำคัญคือ ลดต้นทุน
ฝ่ายผลิตและลดการนำเข้าไม้ จึงขอให้ข้อคิดเห็นดังนี้
1. ไม้พญาคชราช ชื่อพฤกษศาสตร์ : Talipariti macrophyllum (Roxb. ex Hornem.) Fryxell ,
วงศ์ Malvaceae และอันดับ : Malvales เป็นไม้ยืนต้นโตเร็วและเมล็ดพันธุ์ที่นำมาขยายพันธุ์ก็นำมาจาก
ต้นพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย (ต้นพันธุ์อยู่ที่เขาใหญ่) โดยมีชื่อเดิมว่า “ปอหู” (ไม่ใช่ “ ปออีเก้ง”
ตามที่นักวิชาการบางท่านของหน่วยงานภาครัฐและสื่อบางฉบับยังมีความเข้าใจสับสนอยู่)
2. คุณสมบัติของไม้ “พญาคชราช” เป็นไม้เนื้อแข็งปานกลางมีลักษณะเด่นคือเป็นไม้ที่มีแก่น ทำให้มีลายไม้คล้ายไม้สักและไม้พะยูง เมื่ออายุเกิน 10 ปี แก่นจะมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนที่เป็นประโยชน์หรือ
การนำไปใช้ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไม้ ได้แก่ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ การก่อสร้างบ้านเรือน รวมทั้งเครื่อง
มือเครื่องใช้ ต่างๆเป็นต้น
|
3. การที่ โครงการประเทศสีเขียว (Green Country Project) ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของภาค
เอกชน ได้รณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ เช่น “พญาคชราช” และพันธุ์ไม้ยืนต้นโตเร็วชนิดอื่นๆ กล้าไม้ยืนต้น
ทุกชนิดรวมทั้งพืชพลังงานทดแทนจำนวน 984,000,000 ต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช เนื่องในวโรกาสที่พระองค์จะทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 84 พรรษา
ในวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช
2554 และเพื่อลดภาวะโลกร้อน นอกจากนั้นโครงการประเทศสีเขียว
ยังร่วมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสาธารณะกุศลอื่นๆ รวมทั้งได้มีการมอบกล้าพันธุ์ไม้ ให้แก่หน่วยงานภาคเอกชน
ภาครัฐ และมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ อีกด้วย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมกันปลูกต้น “พญาคชราช”ดังกล่าวนั้น
เป็นการมุ่งเน้นรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ประเทศ อันเป็นวัตถุ
ประสงค์หลักของโครงการประเทศสีเขียว ส่วนการที่หน่วยงานของรัฐบางหน่วยงาน หากไม่ส่งเสริมหรือ
สนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวทางโครงการประเทศสีเขียวก็ขอเพียงอย่านำข้อมูลทางวิชาการที่ขาดการตรวจ
สอบอย่างถูกต้องไปเผยแพร่ทางสื่ออินเตอร์เน็ต เป็นเหตุ ให้กลุ่มบุคคล หนังสือพิมพ์ และนิตยสารบางฉบับ
ได้นำเอาข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปเผยแพร่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดแก่ประชาชนที่สนใจร่วมปลูกป่ากับโครงการประเทศ
สีเขียวและทั้งยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโครงการประเทศสีเขียว
ในเรื่องคุณสมบัติของเนื้อไม้นั้นเนื่องจาก “ พญาคชราช ” เป็นพันธุ์ไม้มงคลชนิดหนึ่งเมื่ออายุประมาณ
1 ปีเศษชาวบ้านได้มีการนำเนื้อไม้ทำดอกไม้จันทน์สร้างรายได้ต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว และขณะนี้มีภาค
อุตสาหกรรมกำลังให้ความสนใจที่จะนำไม้อายุประมาณ 1-2 ปี ไปทำเยื่อกระดาษ ทดแทนพันธุ์ไม้บางชนิดที่นิยม
ปลูกกันอยู่ นอกจากนี้ยังมีตลาดไม้ที่ต้องการให้มีการปลูกต้น “พญาคชราช” จำนวนมาก เพื่อนำไปทดแทน
ไม้ที่มีเหลืออยู่น้อยมากและสิ่งที่โครงการประเทศสีเขียวมุ่งเน้นและให้ความสำคัญสูงสุดก็คือ
การรวมใจเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ “ ถวายมหาราชาของแผ่นดิน”
|
การปลูกป่า “พญาคชราช” (Payakocharach ) เพื่อสิ่งแวดล้อมและการใช้สอย
“เราต้องพยายามเลือกต้นไม้ที่โตเร็ว เพราะต้นไม้โตเร็วดูดซับ คาร์บอนไดออกไซด์ได้มาก ต้นไม้ที่เรากำลัง
รณรงค์เช่นต้น “พญาคชราช”ได้นำมาปลูกในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรเป็นการทดลองและเผยแพร่
ให้เห็นว่าเราได้ช่วยกันลดภาวะโลกร้อน แล้วยังสามารถที่จะเอามาใช้งานได้ด้วย สามารถนำไปใช้งานทดแทน
ไม้ที่นับวันยิ่งจะหายาก เพราะไม้ในป่าเราหาไม้ดีๆไม่ได้แล้ว และทดแทนไม้ในป่าด้วย เดี๋ยวนี้เรามีเทคโนโลยี
เยอะที่ทำให้ไม้คงทนได้ เช่น วิธีอบไม้ ป้องกันปลวกขึ้นหรือแมลง และเราอาจจะนำไปทำเฟอร์นิเจอร์หรือที่อยู่
อาศัยได้
จึงอยากจะเรียนเชิญท่านทั้งหลาย ซึ่งตอนนี้แทบจะสายไปแล้วที่จะช่วยกันฟื้นฟูป่าไม้ขึ้นมาช่วยดูดซับ
คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกทั้งหลายทั้งปวง”
พล.ต.ต. ดิเรก พงษ์ภมร
กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี |
“ป่าเท่านั้นที่เป็นหัวใจสำคัญในการที่จะรักษาน้ำและก็เก็บกักน้ำไว้ รวมทั้งเก็บ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่มีผลสำคัญต่อภาวะโลกร้อน และที่สำคัญ หมดป่าเมื่อไหร่ก็หมดดินเมื่อนั้น พี่น้องที่จะทำมาหากินในพื้นที่ด้านล่างลงมาก็จะมีผลกระทบไปอย่างต่อเนื่อง อันนี้ก็มีความจำเป็นการปลูกป่าก็ไม่ได้คำนึงถึงแค่รายได้ ทั้งระบบนิเวศน์ก็ตาม ทั้งในเรื่องของปัญหาที่จะมีผลกระทบตามมา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสำคัญ”
นาย เกรียงศักดิ์ หงษ์โต
รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน |
|
ความต้องการและตลาดของไม้ “ พญาคชราช” (Payakocharach) และไม้อื่นๆ
เอส.บี. เฟอร์นิเจอร์
“ สำหรับ เอส.บี. อันดับแรก ไม้ที่จะนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ จะต้องเป็นไม้ที่เกิดจากการปลูก ไม่ทำลาย
สภาพดิน มีความแข็งแรง ข้อสุดท้ายจะต้องเป็นไม้ที่มีความจูงใจให้เกษตรกรร่วมมือร่วมใจในการที่
จะปลูกป่า ”
นาย พิเดช ชวาลดิฐ
ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต เอส.บี.เฟอร์นิเจอร์ |
ร้านอูมามิ
“ ร้านอาหารญี่ปุ่นมีการตกแต่งในหลายๆสไตล์ ร้านอาหารญี่ปุ่นบางร้าน เราจะเห็นเน้นในเรื่องของการ
ใช้กระดาษ แต่ร้านอาหารญี่ปุ่นในปัจจุบันจะเน้นในเรื่องของการใช้ไม้ การใช้ไม้จะให้ความรู้สึกที่อบอุ่น ไม้ที่ใช้
ก็จะมีหลายแบบทั้งไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็ง Concept ในการออกแบบ ร้านอูมามิ ใช้ทั้งไม้เนื้ออ่อนและเนื้อแข็ง
ผสมผสานกัน ไม้เนื้ออ่อนเราเอามาทำเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ ส่วนไม้เนื้อแข็ง เราทำเป็นพื้น
การใช้ไม้ที่ต้องการจะใช้ไม้ที่มีลายซึ่งไม้ที่มีลายในปัจจุบันมักจะมีราคาแพง ถ้าเราสามารถหาไม้ที่มีลายมี
ริ้วในตัวที่มีราคาถูกจะทำให้การใช้ไม้ในการตกแต่งร้านอาหารมีการพัฒนามากขึ้นและสวยงามมากขึ้นและถ้ามี
ไม้เศรษฐกิจทดแทนที่สามารถปลูกบ้านได้ ทำเฟอร์นิเจอร์ได้จะทำให้ตลาดไม้เติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้น
นาย พุฒเมศ เลิศวิริยะเศรษฐ์
กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไดโดมอน จำกัด |
|
>>> [ 1 ][ 2 ][ 3 ][ 4 ][ 5 ][ 6 ][ 7 ][ 8 ] <<< |